การแข่งขันธุรกิจรักษาความปลอดภัย

การแข่งขันธุรกิจรักษาความปลอดภัย การแข่งขันไม่ได้เจาะจงเฉพาะธุรกิจรักษาความปลอดภัยเท่านั้น

ธุรกิจอื่นๆก็ต้องแข่งขันกันเองด้วย โดยแยกหัวข้อของการแข่งขันเป็นข้อๆ ดังนี้

  1. ตลาดสำหรับตลาดของธุรกิจรักษาความปลอดภัยแล้วกว้างขว้างและมีมากมายจนไม่มีที่สิ้นสุด สรุปแล้วใหญ่มาก มีพื้นที่เสมอสำหรับบริษัทจัดตั้งใหม่ เพราะลูกค้ามีทุกระดับตั้งแต่ว่าจ้างดูแลบ้านพัก จนถึงนิคมอุตสาหกรรม ขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก แท่งขุดเจาะน้ำมันยังมีบริษัทรักษาความปลอดภัยไปดูแลเลย แต่มาตรฐานของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยจะใช้ได้หรือเปล่าขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานและการควบคุมดูแลของบริษัทนั้นๆ
  2. ราคาสำหรับราคาสินค้าขึ้นอยู่กับชื่อแบรนด์ของบริษัทตั้งแต่ 16,500 ถึง 27,000 บาท สำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และ 19,500-35,500 สำหรับหัวหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  3. สินค้าคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ต้องประกอบด้วยมาตรฐานรักษาความปลอดภัย , ระยะเวลาฝึกอบรม , ทักษะ , และการเป็นมืออาชีพของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  4. บริการหลังการขายถือว่าสำคัญที่สุด เพราะตอนขายงานทำได้ทุกอย่างพอเกิดเหตุการณ์ขึ้นกลับสรรหาข้ออ้างมาหักลบกลบล้างให้มากที่สุด จนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ลูกค้าเกิดความเอือมระอากับบริษัทโดยทั่วๆ ไป ยิ่งบริษัทใหญ่ๆด้วยแล้ว ลูกค้ายิ่งกลัวมากกับคำว่า “ชดเชยค่าเสียหาย 3 เท่าของบริษัทโดยทั่วๆ ไป” “ควงเวรไม่รับค่าบริการวันนั้นๆ” “สาย 3 วันไม่รับค่าบริการ 3 วัน”  “รปภ. 7 นาย สายตรวจ 1 นาย” “ทำงาน 6 วันหยุด 1วัน” “หรือหน่วยงานมี6 นาย จัด S/B 1 นาย” พอเอาเข้าจริงผิดสัญญาข้อนั้นข้อนี้ลูกค้าต้องหันมาใช้บริการบริษัทเล็กๆ และขนาดกลางเกือบ 100 % ซึ่งมีอำนาจต่อรองได้มากกว่าบริษัทใหญ่

 

สรุปแล้วว่าโฆษณาอันไหนน่าจะเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ ให้ลูกค้าใช้ดุลพินิจพิจารณาเอง ทำไมบริษัทเล็ก กลางจึงอยู่ได้ เนื่องจากมีส่วนแบ่งในตลาดน้อยแต่ก็อยู่ได้ เพราะมีลูกค้าที่กลัวเสียเวลากับการโฆษณาเกินจริง ของบริษัทใหญ่หรือของบริษัทติดแบรนด์ไม่ต้องใช้สื่อมากหนัก หากบริษัทระดับเล็ก , กลาง ได้ปฏิบัติทั้ง 4 ข้อข้างต้นดี ลูกค้าจะเป็นผู้โฆษณาให้ไปในตัวอยู่แล้ว