มาตรฐาน งานบริการ รักษาความปลอดภัย รปภ.
18 เม.ย. 2018

มาตรฐานการให้บริการรักษาความปลอดภัย

มาตรฐานการให้บริการรักษาความปลอดภัย
เราเน้นย้ำและให้การฝึกอบรมกับ เจ้าหน้าที่ รปภ. ทุกนาย ในเรื่องการมีจิตใจในการให้บริการที่ดี คือต้องมีจิตใจหรือมีใจรักในงานรักษาความปลอดภัย มีความเต็มใจในการบริการ สุภาพอ่อนโยน มีการช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาติดต่อ/ลูกค้า

Sticky
07 พ.ย. 2016

เทคนิคการเลือก รปภ. สำหรับหน่วยงานหรือลูกค้า

เทคนิคการเลือก รปภ. สำหรับหน่วยงานหรือลูกค้า

เมื่อเราไปติดต่องานตามบริษัทต่างๆ ด่านแรกในการต้อนรับผู้มาติดต่อ คือ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) แต่ถ้าเราไปพบความไม่ประทับใจ

เราอาจจะเรียกชื่อตำแหน่งนี้ใหม่ว่า “ยาม” ก็ได้ โดยทั่วไปหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องการรักษาความปลอดภัยมักเป็นงานของ Administration หรือ เรียกย่อๆ ว่า Admin หรือ หน่วยงานธุรการ (General Affairs) แต่ในทางบริษัทอาจมอบหมายให้ HR. กำกับดูแล และมีเทคนิคการเรียก รปภ. แบ่งตามเกรดหรือระดับดังนี้

การแบ่งประเภทบริษัทรักษาความปลอดภัย (รปภ.) เป็นอย่างไร

ระดับสูง จะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ของบริษัทข้ามชาติหรือขนาดใหญ่ เรียกว่าติด 10 อันดับของประเทศ ที่มีการคัดเลือก รปภ. ที่มีบุคลิกดูดี ทะมัดทะแมง อัตราค่าบริการเริ่มต้น 25,500 – 30,500 บาท แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการแพง ใช่ว่าจะได้ของดีเสมอไป เนื่องจากการขยายงานของบริษัท รปภ. บางครั้งทำให้การคัดเลือกและการบริการบกพร่องได้เช่นกัน

ระดับกลาง จะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ที่รองลงมาจากระดับสูง หรือเป็นประจำบริษัท รปภ. ขนาดกลางหรือเล็ก ที่มีการคัดเลือก รปภ.ได้ดีระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากการขาดแคลนกำลังคน อาจทำให้การคัดเลือก รปภ.ที่ไม่เหมาะสม เช่น อายุมากเกินไปหรือเด็กเกินไป ตลอดจนการอบรม หรือระบบการบริหารอาจจะไม่ดีพอ ทำให้พบเห็น รปภ.ที่หย่อนประสิทธิภาพ อัตราค่าบริการเริ่มต้น 19,500 -25,500 บาท

ระดับล่าง จะเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (รปภ.) ที่มักจะใช้คนในท้องถิ่นใกล้ๆ สถานที่ทำงานมาทำหน้าที่ รปภ. โดยผู้ควบคุมดูแลมักจะเป็น ทหาร,ตำรวจ,ทนายความ หรือนักการเมืองท้องถิ่น ปัญหาที่พบบ่อยคือ การบริหารจัดการในเรื่องการรักษาความปลอดภัย เพราะมักพบเห็นความบกพร่องของ รปภ. เสมอๆ แก้ไขยาก จะเปลี่ยนบริษัท รปภ. ก็ต้องฝ่าด้านอิทธิพลต่างๆให้ได้ อัตราค่าบริการเริ่มต้นที่ 18,500-21,500 บาท

สรุปแล้วว่า บริษัท รปภ.จะมีปัญหาเหมือนกับบริษัททั่วๆไป คือ การขาดแคลน กำลังคนทำให้บางครั้งการคัดเลือกลดหลักเกณฑ์หย่อนคุณสมบัติ เรียกว่ามีคนมาสมัคร ก็รับไว้หมด ทำให้ได้คนที่ไม่ชอบงาน รปภ. ไม่เหมาะสมและ/หรือ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับอาชีพนี้ได้ ทำให้อัตราการลาออกสูง เมื่อคนขาด รปภ.จึงต้องทำงานทั้งสองผลัดต่อเนื่อง ทำให้หลับยาม ดังนั้นผลการปฏิบัติหน้าที่จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ รปภ. ปัญหาที่เกิดขึ้นมักเกิดจากความผิดพลาดของคน (Human Error) ดังนั้น ปัจจุบันและในอนาคตระบบรักษาความปลอดภัย จึงหันมาใช้อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยมากขึ้น และลดจำนวนการจ้างเจ้าหน้าที่ รปภ.ลง

07 พ.ย. 2016

ทำไมประเทศพัฒนาใช้ รปภ.น้อยมาก

ทำไมประเทศพัฒนาใช้ รปภ.น้อยมาก

ประเทศพัฒนาแล้ว หมายถึงประเทศที่มีการพัฒนาในระดับสูงเมื่อวัดตามมาตรฐานบางประการ แต่การยึดเอามาตรฐานใดเป็นหลัก หรือการจัดกลุ่มให้ประเทศใดอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้วนั้นยังคงถกเถียงกันอยู่

โดยทั่วไปมาตรวัดทางเศรษฐกิจมักเป็นที่ยอมรับ เช่น การใช้รายได้ต่อหัวเป็นหลักและให้ประเทศที่มี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ต่อหัวสูงอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้ว ในระยะหลังมีการใช้ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นการรวมเอามาตรวัดทางเศรษฐกิจรวมกับมาตรวัดอื่นๆ เช่น ดัชนีอายุขัย เพื่อเป็นตัววัดการพัฒนาประเทศต่างๆ มากขึ้น จึงมีการจัดกลุ่มประเทศที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว

ดัชนีการพัฒนามนุษย์ เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบความยามจน การรู้หนังสือ การศึกษา อายุขัย การคลอดบุตร และปัจจัยอื่นๆ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เป็นวิธีการวัดความอยู่ดีกินดีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน หลายคนใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของ สหประชาชาตินี้ในการระบุว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ดัชนีดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นมาในปี พ.ศ. 2533 โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถานชื่อ มาฮุบับ อุล ฮาค และองค์การสหประชาชาติได้ในดัชนีดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา

ดัชนีการพัฒนามนุษย์วัดความสำเร็จโดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศในการพัฒนามนุษย์สามด้านหลักๆ ได้แก่

– การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี ซึ่งวัดได้จากอายุขัย

– ความรู้ซึ่งวัดได้จากการเรียนรู้หนังสือ (มีน้ำหนักเป็นสองในสามส่วน) และอัตราการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา (มีน้ำหนักเป็นหนึ่งในสามส่วน)

– มาตรฐานคุณภาพชีวิต ซึ่งวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ( Gross Domestic Product – GDP ) ต่อหัวและความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (Purchasing power parity-PPP)

การพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่ต้องการความเจริญก้าวหน้า ต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง การยอมรับ จากวงสังคมและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ซึ่งไม่มีใครเลยจะสามารถปฏิเสธได้ว่า ในแต่ละวันนั้น มนุษย์ต้องดิ้นรนขวนขวาย ไขว่คว้าหาสิ่งที่ตนพึงปรารถนาเพื่อให้ได้มา ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงเป็นการพัฒนาตนเองให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปรับปรุงการดำเนินชีวิตให้สอดคล้อง และรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ปัญหาที่สำคัญมีอยู่ว่า แล้วเราจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความสำเร็วได้อย่างไร คำตอบที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น เราต้องรู้จักตัวเราเองก่อน เพราะตัวเราเท่านั้นที่จะสามารถสร้างความสำเร็จให้กับตัวเองได้ ไม่มีใครสามารถทำแทนได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว

ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตนั้นมีอยู่มากมาย และสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถละเลยที่จะนึกถึงคือ ปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งนับเป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นในการดำรงชีวิต ที่สำคัญ ซึ่งมนุษย์ทุกคนจะขาดเสียมิได้ นอกจากนั้นแล้ว การศึกษาก็นับว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตอีกข้อที่สำคัญ เพราะทั่วโลกจะถือว่า ประเทศมีอัตราการศึกษาของประชากรภายในประเทศอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงนั้น ย่อมถือว่า ประชากรในประเทศนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอังกฤษ เป็นต้น

การพัฒนาตนเองเพื่อคุณภาพชีวิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 มิติดังต่อไปนี้

  1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านร่างกายได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ รู้จักบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและครบ 5 หมู่ หาเวลาพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
  2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์เป็นการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์หมั่นฝึกฝนให้ทาน การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ
  3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคมเป็นการสร้างการยอมรับ และยกย่องจากสังคม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ หรือจากหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้น การใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน และการปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม
  4. การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญาเป็นการเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง เช่น การอ่านหนังสือ การเข้าอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในด้านต่างๆ การศึกษาข้อมูลด้วยตนเองจากสื่อสารสนเทศ วิทยุ โทรทัศน์ รวมไปถึงการหัดสังเกตและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

เทคนิคในการพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มีอยู่ 6 ประการ คือ

  1. วางแผนล่วงหน้าเพราะความสำเร็จที่ได้มาส่วนใหญ่มักจะมาจากแผนงานที่ชัดเจนมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กำหนดระยะเวลา รูปแบบของกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงาน นอกจากนั้นแล้ว หลังจากสิ้นสุดในทุกๆ กิจกรรม ควรมีการวัดและประเมินผลตรวจสอบ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขสำหรับแผนใหม่ในคราวหน้าต่อไป
  2. ขจัดความขี้เกียจเพราะความขี้เกียจนี้แหละเป็นอุปสรรสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เมื่อปล่อยให้ความขี้เกียจเข้ามาเยือนแล้วก็ยากเหลือเกินที่จะสลัดออกไป เพราะฉะนั้น เราจึงควรสลัดความขี้เกียจนี้ตั้งแต่เริ่มต้น โดยไม่มีการผัดวันประกันพรุ่ง ปล่อยงานเป็นดินพอกหางหมู
  3. ฝึกนิสัยประหยัดอดทน  เพราะการใช้จ่ายที่ถูกวิธีและสมควรแก่ฐานะนั้น เป็นการสร้างระเบียบ วินัย ขั้นพื้นฐาน ให้แก่ตนเอง และยังใช้เป็นหลักประกันที่แน่นอนเมื่อถึงคราวคับขันเร่งด่วนอีกด้วย
  4. หัดคิดในมุมสร้างสรรค์ เป็นการคิดเชิงบวก คิดแต่เรื่องที่ดีงาม มองปัญหาต่างๆ ให้เป็นเรื่องเล็กที่สามารถแก้ไขได้ การหัดเปิดมุมมองใหม่ๆ กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รายล้อมรอบๆ ตัวนั้นเป็นการพัฒนากระบวนการทางความคิด และสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้น หลีกเลี่ยงการมองตนเองเป็นศูนย์กลาง พร้อมกันนั้นควรหัดรับฟังให้มาก และสละเวลาบางส่วนแลกเปลี่ยนเสวนา แสดงความคิดเห็นกับผู้อื่นอยู่เสมอ
  5. ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ปัญหาต่างๆ เปรียบเสมือนกับบททดสอบบทหนึ่งที่จะนำทางเราสู่ความสำเร็จ เมื่อเราคิดจะลงมือทำการสิ่งใด ควรตั้งรับและเตรียมใจไว้ว่า ทางเดินสู่ความสำเร็จนั้นย่อมต้องมีอุปสรรคขวากหนามเป็นเพื่อนร่วมเดินทางด้วยเสมอ ปัญหาทุกปัญหาจึงมาพร้อมๆ กับความสำเร็จ และเมื่อใดที่คุณพบกับความสำเร็จคุณจะรู้ว่า ไม่ว่าจะอีกกี่สิบปัญหาในภายหน้า คุณก็จะสามารถผ่านพ้นมันไปได้ เหมือนอย่างคราวนี้เช่นกัน
  6. เคารพตนเอง โดยเชื่อมันในความสามารถให้โอกาสตนเองในการกล้าลองผิดลองถูกเพราะผู้ที่สามารถยืนหยัดอยู่บนความสำเร็จนั้นได้ ล้วนแล้วแต่ผ่านบททดสอบปัญหา และอุปสรรคต่างๆ มานับไม่ถ้วน

 

จุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาชีวิตนั้น คือ การเปิดใจยอมรับตนเอง ใครมีความพร้อมในการศึกษาเรียนรู้และมีสติตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอยู่เสมอจะช่วยให้ คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมได้ อย่างมีความสุข

สรุปแล้วประเทศที่พัฒนา หมายถึง ประชาชนส่วนใหญ่ได้พัฒนาชีวิตตนเอง มาพัฒนาสังคม ประเทศ ทำให้ ประเทศที่พัฒนาแล้วมีคุณธรรม จริยธรรม ในตัวเองของประชาชนมากขึ้น รอบๆ บ้าน , หมู่บ้าน , เมือง ต่างมีความสงบเรียบร้อย มีความรับผิดชอบส่วนตัวสูง ประกอบประเทศที่พัฒนาแล้วเมื่อพัฒนาประชากรเรียบร้อยก็จะพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องใช้เครื่องมือต่างๆ ไปพร้อมๆกัน ทำให้เกิดอาชญากรรมน้อย หรือบางเมืองอาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็เป็นได้ โดยใช้ รปภ. เท่าที่จำเป็นควบคู่กับเทคโนโลยี ผสมผสานกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ เพราะถึงอย่างไรก็ดี รปภ. ก็ยังมีความจำเป็นอยู่ไม่มากก็น้อย จะขาดเสียไม่ได้ในการดำเนินธุรกิจ

07 พ.ย. 2016

ทำไมค่าบริการบริษัท รปภ.ข้ามชาติ และบริษัทชั้นนำ ราคาสูง

ทำไมค่าบริการบริษัท รปภ.ข้ามชาติ และบริษัทชั้นนำ ราคาสูง

องค์ประกอบของบริษัทข้ามชาติและบริษัทชั้นนำนั้นมีจำนวนมาก ซึ่งพอจะจำแนกได้คราวๆดังนี้

จำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ระดับผู้บริหารปฏิบัติการ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ฝ่ายการเงิน ฝ่ายตรวจสอบ ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและฝึกอบรม ฝ่ายปฏิบัติการกลาง สายตรวจพิเศษเคลื่อนที่เร็ว สายตรวจประจำผลัด/เขต ฝ่ายควบคุมอุปกรณ์และอิเลคทรอนิคส์ จะเห็นได้ว่าบริษัทดังกล่าวได้วางแผนผังการบังคับบัญชาอย่ามีระบบและรัดกุม สำหรับแผนงานที่รองรับลูกค้าเป็นอย่างดี เพื่อจะได้ดำเนินงานและตอบสนองความต้องการของลูกค้า ลดช่องว่าการสูญเสียและ/หรือ เสียหายของทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง

ระบบรักษาความปลอดภัยอิเลคทรอนิค ประกอบระบบ

–  กล้องโทรทัศน์วงจรปิด

–  สัญญาณเตือนภัยบุกรุก

–  ควบคุมเข้า-ออก

–  ป้องกันสินค้าสูญหาย

–  ตรวจวัดน้ำ

–  ตรวจความร้อน

–  ทำความเย็นตู้แช่แข็ง

–  หน่วย A/C และระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์โรงงาน

–  ติดตามยานพาหนะ

งบประมาณ  จากหัวข้อดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า จำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและอุปกรณ์ระบบรักษาความปลอดภัย มีจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายสำหรับในส่วนนี้จึงมีเป็นจำนวนมาก เป็นเงาตามตัวไปด้วย ไม่ว่ายานพาหนะ ค่าสิ้นเปลืองสำนักงาน ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จิปาถะ จึงต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทแต่ละบริษัท งบค่าโฆษณาและเว็บไซต์ของบริษัทเพื่อให้ลูกค้าได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นและติดตามหาข้อมูลในเชิงลึกกับกับฝ่ายการตลาดอีกครั้งหนึ่ง งบค่าพัฒนาและฝึกอบรมสำหรับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย โดยทั่วไปฝึกทางด้านพื้นฐานของการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับการปฐมพยาบาล การดับเพลิง สำหรับเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วสำหรับช่วยเหลือลูกค้าและ/หรือ รับงานการฝึกซ้อมดับเพลิงประจำปีของหน่วยงานต่างๆ

สรุป จากสาเหตุทั้ง 3 หัวข้อว่า ทำไมค่าบริการ รปภ. ข้ามชาติ และบริษัทชั้นนำจึงมีราคาสูง เพราะเมื่อมีมาตฐานและคุณภาพของ รปภ.ให้ลูกค้ามองเห็นว่าข้อบกพร่องในการบริการจัดการน่าจะมีค่อนข้างต่ำ เพราะปัจจัยขั้นพื้นฐานของบริษัทข้ามชาติหรือบริษัทใหญ่ครบถ้วน และมีมาตรการป้องกันเกือบทั้งหมดแล้ว หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที แต่ทั้งนี้หรือทั้งนั้น ข้อบกพร่องหรือราคาต่อรองใช่จะจบที่ราคาตายตัวไม่ ขึ้นอยู่ว่าลูกค้าสามารถเลือกอุปกรณ์การรักษาความปลอดภัยแบบไหน หน่วยงานมีความยุ่งยากหรือซับซ้อนอย่างไร เพราะบริษัท รปภ.ส่วนใหญ่ จะข้ามชาติหรือบริษัทใหญ่ ต่างก็มีหัวใจในการบริการของลูกค้าเป็นใหญ่ จึงเปรียบเสมือนเป็น “เทวดา” จะต้องการอะไรก็ได้แล้วแต่จะสนองความต้องการ และตกลงกันในราคาที่เหมาะสมทั้งสองฝ่าย

07 พ.ย. 2016

ทำไม บริษัท รปภ.เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ทำไม บริษัท รปภ.เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

บริษัทที่เกิดใหม่ส่วนมากเกิดจากพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านรักษาความปลอดภัย

คลุกคลี่อยู่ในวงการ รปภ.เป็นเวลาพอสมควร เป็นลูกจ้างแล้วไม่สามารถดำเนินการตามความคิดของตนเองได้ ประกอบการจดทะเบียนบริษัททำได้ง่ายภายในวันเดียวเสร็จ หากมีต้นทุนหมุนเวียนตามกำลังพลของ รปภ.แล้ว มีความคิดที่อยากเป็นอิสระ มีอำนาจสั่งการในทุกๆ เรื่อง ที่ตนเคยคิดว่าง่ายหากปฏิบัติตามแนวคิดของตนด้วยอุปมา อุปมัยที่ว่า “เป็นหัวหมาดีกว่า เป็นหางราชสีห์”

การจัดตั้งบริษัทใหม่ๆ จัดตั้งง่าย แต่ที่ลำบากหรือไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้เนื่องจาก มี 2 กรณี คือ

21.1 การบริหารจัดการคน เนื่องจากต้องทำงานกับคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จะมากน้อยขึ้นอยู่ขนาดของบริษัท แรกๆ ก็ทุ่มเทให้กับบริษัท นานๆ เข้าความเหนื่อยล้าเข้ามาแทนที่ทำให้ความอดทนน้อยลง เคยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พอความเหนื่อยล้าเข้าก็ให้หาคนมาช่วยงาน แต่กลับได้คนมาเพิ่มภาระให้ งานก็ไม่พ้นตนเองอีก

21.2 งบประมาณ ต้องคิดเสมอมา การคาดการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับงาน รปภ.นั้น จะเกิดขึ้นโดยไม่คาดการณ์ไว้ตามตารางค่าใช้จ่ายต่างๆ ของบริษัท และต้องคิดว่าบริษัท รปภ.ต้องทำงานให้ผู้ว่าจ้างก่อน 30 วัน จึงเก็บค่าบริการได้ และต้องเก็บค่าบริการได้ตรงกำหนด ต้องใช้เวลาประมาณ 40 วันเป็นอย่างเร็ว ใน 40 วัน บริษัทต้องสำรองค่าใช้จ่ายให้ รปภ. , สายตรวจ , ค่าน้ำมัน ฯลฯ หากได้รับตามกำหนดก็หายใจทั่วท้องไปเดือนหนึ่ง หากลูกค้าบางรายเลื่อนการชำระจาก 40 วัน เป็น 60 วัน หรือ 2 เดือน ต้องวิ่งหาทุนสำรองมาหมุนเวียนอีก แรกๆ ก็พอมีทุนสะสมอยู่บ้าง แต่นานๆ เข้าก็ไปไม่รอด ปิดบริษัท โยนภาระให้ผู้ว่าจ้างและ รปภ.อีก

โดยสรุปแล้วคนทุกคนอยากเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานในความถนัดของตนเอง อยากเป็นเจ้าของกิจการของตนเองกันทั้งนั้น ไม่อยากเป็นลูกจ้างของใคร แต่การเตรียมการไม่ใช่ว่าอาศัยประสบการณ์และ/หรือ การเป็นคนไฟแรงมีมูลเหตุจูงใจเท่านั้น จะต้องมีองค์ประกอบหลายๆอย่างรวมกัน ใช่มีกำลังคนทำงานแล้วงบประมาณไม่มากก็ไปไม่รอด หากงบประมาณมากแต่บริหารคนไม่เป็นก็เพียงซื้อเวลาที่จะให้บริษัทอยู่รอดได้นานเท่านั้น ใช่แต่คิดว่าส่วนต่างของค่าบริการของรปภ. และค่าบริการลูกค้าต่างกันมากแล้ว จะมีรายได้เข้าบริษัทมาก คิดผิดแล้ว หากไม่มีการเตรียมการที่ดี มีความรู้ความสามารถ มีงบประมาณ การบริหารจัดการดี จึงตั้งบริษัทอยู่รอดได้ตลอดไป

07 พ.ย. 2016

ถ้าเลือกได้ อย่าให้เจ้าหน้าที่ รปภ.ทำ

ถ้าเลือกได้ อย่าให้เจ้าหน้าที่ รปภ.ทำ

หัวข้อแรก คือ อย่าให้ รปภ.ทำ ผิดระเบียบวินัย กฎ ข้อบังคับของบริษัท
หัวข้อสองคือ อยากให้ รปภ.ทำ ตามระเบียบวินัย กฎ ข้อบังคับของบริษัท

เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ รปภ.ทำผิดระเบียบวินัย กฎ ข้อบังคับของบริษัท เพราะ รปภ. ปล่อยปละละเลย เช่น หน้าที่เกี่ยงกับการเก็บเอกสาร และ/หรือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ผู้ว่าจ้างมอบไว้ให้ รปภ. เก็บรักษาไว้ คือกุญแจห้อง , กุญแจรถยนต์ ฯลฯ สำหรับส่งคืนแก่ผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของกิจการ เพราะต้องเป็นหน้าที่ของ รปภ. ที่ต้องรักษาไว้ แต่ รปภ.กลับกระทำผิดวินัย ผิดระเบียบ กฎ ข้อบังคับเองเอากุญแจห้องไปไขเข้าไปนอนแล้วเปิดแอร์ด้วย เพราะไม่คิดว่าผู้ว่าจ้างจะจับได้ และอีกกรณีหนึ่งเอากุญแจรถไปไขรถยนต์เข้าไปนอนพร้อมสตาร์ทรถ เพื่อเปิดแอร์จะได้เย็นสบาย โดยไม่ทราบว่ารถจอดอยู่ในจังหวะเกียร์อะไร หากเข้าเกียร์ค้างไว้ ไม่ว่าเดินหน้าหรือถอยหลัง เมื่อสตาร์ทรถแล้วก็จะเกิดอุบัติเหตุทันที ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของนายจ้างได้หากรปภ.ปฏิบัติได้ตามหัวข้อแรกและหัวข้อที่สองดังกล่าวข้างต้น แล้วหน่วยงานต่างๆ จะไม่มีขาดจุด ละทิ้งหน้าที่ หลับเวร เมาสุรา หรือ ฯลฯ ที่พบเป็นประจำจะหยุดในวันหลังเงินเดือนออกเสียส่วนมาก แม้แต่บริษัทต่างๆ จะหามาตรการบทลงโทษอย่างไร ก็ไม่เข็ดหรือ จดจำเลย สรุปแล้วไม่กลัว

07 พ.ย. 2016

ถ้าลูกค้าใช้บริษัท รปภ. เปลี่ยนจนไม่รู้จะใช้บริษัทอะไรดี ทำอย่างไรหากยังต้องใช้บริการอยู่

ถ้าลูกค้าใช้บริษัท รปภ. เปลี่ยนจนไม่รู้จะใช้บริษัทอะไรดี ทำอย่างไรหากยังต้องใช้บริการอยู่

ขั้นต้นต้องตั้งสติก่อนว่า ลูกค้าเคยใช้บริษัท รปภ.มากี่บริษัทแล้ว แบ่งเกรดการปฏิบัติงานอยู่ใน 3 ระดับ

คือ ปานกลาง แย่ แย่มาก กล่าวคือ

ปานกลาง มีลักษณะเด่นอย่างไร ไม่ดีอย่างไร รปภ.เป็นอย่างไร

แย่             มีลักษณะเด่นอย่างไร ไม่ดีอย่างไร รปภ.เป็นอย่างไร

แย่มาก     มีลักษณะเด่นอย่างไร ไม่ดีอย่างไร รปภ.เป็นอย่างไร

ซึ่งขั้นตอนข้างต้นในทุกๆ บริษัทจะมีส่วนดีและไม่ดีอยู่ในตัวมันเองโดยผู้บริหารเท่านั้นที่ทราบ แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้หมดไปได้ เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ก็จะกระทบส่วนอื่นไปด้วย แทนที่จะแก้ปัญหา กลับสร้างปัญหาเพิ่มขึ้นอีก ลูกค้าต้องพิจารณาว่า บริษัทปานกลางมีส่วนไหนดี เช่น การประสานงานดี สายตรวจดี แต่ รปภ. ไม่ได้เรื่องเลย เราต้องมองว่าเราต้องการอะไรเป็นบรรทัดฐาน บริษัทที่แย่ในสายตาเรา อาจจะดีในสายตาโดยภาพรวมก็ได้ เช่น การประสานงานไม่ได้เรื่อง ช้า แต่มีสายตรวจปานกลาง และมี รปภ.ที่รับผิดชอบดีปานกลาง หรือ แย่มาก มีส่วนที่ตรงไหนแย่มาก คือการประสานงานปานกลาง สายตรวจไม่รับผิดชอบ รปภ.ไม่ได้เรื่องไม่รับผิดชอบ โดยภาพรวมแล้ วบริษัท รปภ.จะโยนภาระการดูแลมาให้ลูกค้าทั้งหมด

สรุปแล้ว ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของบริษัทเป็นใหญ่ บริษัทไหนที่พอจะรับผิดชอบงานโดยภาพรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 50% ก็ควรพิจารณาจ้างอีกครั้งหนึ่ง เพราะจะให้โอกาสทำงานแก้ไขข้อบกพร่องที่ผ่านมาให้สำเร็จ โดยไม่หวังผลในการปฏิบัติจนเกินไป จากความเป็นจริง

07 พ.ย. 2016

ดึงการจ่ายเงินค่าจ้างบริษัท รปภ.ดีกว่า! เผื่องานจะดี แก้ไขเร็วขึ้น ดีจริงหรือ ?

ดึงการจ่ายเงินค่าจ้างบริษัท รปภ.ดีกว่า! เผื่องานจะดี แก้ไขเร็วขึ้น ดีจริงหรือ ?

เป็นการกระทำที่ไม่สมควรทำ เพราะแต่ละบริษัทมีการบริหารจัดการที่ลงตัวหรืออ่อนตัวบ้างเป็นเฉพาะกรณี

คู่สัญญาต้องเข้าใจว่า บริษัท รปภ. ปฏิบัติงานให้ผู้ว่าจ้างก่อน 30 วัน ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ เป็นจำนวนมากถ้าคิดว่าดึงแล้วงานจะดี หรือแก้ไขเร็วขึ้น คิดผิด เพราะมันคนละส่วนกัน การปฏิบัติงานของเจ้ารักษาความปลอดภัย การแก้ไขปัญหา และ/หรือ ผลการปฏิบัติงานจะดีขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการฝึกอบรมการเข้าตรวจหน่วยของสายตรวจ และการประสานงานกับฝ่ายปฏิบัติการ ให้เข้าปัญหาและต้นเหตุของปัญหาเท่านั้น จึงจะแก้ไขได้

07 พ.ย. 2016

จ้าง รปภ.ต่างด้าวใครผิด

จ้าง รปภ.ต่างด้าวใครผิด

ดังที่กล่าวมาแล้วจากบทความที่ผ่านมาว่าอาชีพ รปภ.นั้น ต้องใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นภาษาไทย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พนักงานสอบสวน และหลักฐานในการดำเนินคดีในกรณีเกิดการโจรกรรม ทรัพย์สินสูญหายและ/หรือเสียหาย พร้อมเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีต่างๆ หากใช้ รปภ.ต่างด้าวแล้วจะทำให้ความยุ่งยากต่างๆ ติดตามมาอย่างมากมาย ประกอบกับการรักษาความปลอดภัยนั้นเป็นงานความมั่นคงประเภทหนึ่งไม่สามารถตรวจสอบรายละเอียดสำหรับประวัติของคนต่างด้าวได้อย่างรวดเร็ว ขนาดคนไทยต้องใช้เวลา 7 วันถึงจะเห็นผล เพราะฉะนั้น รปภ.ต่างด้าวจึงไม่เหมาะสมกับงานรักษาความปลอดภัย

จ้าง รปภ.ต่างด้าวใครผิด ผู้ที่ผิดคือบริษัทรักษาความปลอดภัยที่รับแรงงานต่างด้าวเข้าทำงาน เพราะบริษัทนั้นต้องมีจริยธรรมคือความสำนึกหรือความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม และต้องมี จรรยาบรรณ หมายถึงมาตรฐานของความประพฤติและใช้ดุลยพินิจทางศีลธรรมที่ว่าด้วยการกระทำของบุคคล บริษัท องค์กรว่าถูกหรือผิด สมควรหรือไม่สมควร การจ้างแรงงานต่างด้าว เหมือนบริษัท รปภ. เอาเปรียบผู้ว่าจ้าง เพราะผู้ว่าจ้างต้องรับภาระในการสื่อสาร พฤติกรรมต่างๆ ของ รปภ. ซึ่งยากแก่การปกครองและการสั่งการต่างๆ

07 พ.ย. 2016

จรรยาบรรณงานรักษาความปลอดภัย รปภ. บริษัทรปภ.

จรรยาบรรณงานรักษาความปลอดภัย รปภ. บริษัทรปภ.

จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานของความประพฤติ และใช้ดุลพินิจทางศีลธรรมที่ว่าด้วยการกระทำของบุคคล บริษัท องค์กร ว่าถูกหรือผิด

สมควรหรือไม่สมควร , การศึกษาและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการตัดสินใจภายในกรอบของมาตรฐานทางศีลธรรม หรือ การศึกษาว่ามีพฤติกรรมอะไรบ้างที่ถูก หรือดี , กระบวนความประพฤติที่กลุ่มวิชาชีพ หรือ สมาคมร่วมกันพิจารณากำหนดขึ้นเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มหรือในสังคมนั้นยึดถือ

โดยสรุปแล้ว จรรยาบรรณงานรักษาความปลอดภัย รปภ. นั้นต้องคำนึงถึงการปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์ มีศีลธรรม มีจริยธรรม คือมีความสำนึกหรือความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สูงสุดของ รปภ.เองและบริษัท

จรรยาบรรณของบริษัท รปภ. คือข้อกำหนดอย่างเป็นทางการว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติดีที่ถูกต้อง และเหมาะสมโดยคำนึง

  • วัฒนธรรมเฉพาะในบริษัท ไม่ใช่เพียงแต่หลักจริยธรรมทั่วๆ ไป
  • ประเด็นธุรกิจที่มีความล่อแหลม อาจก่อให้เกิดปัญหาทางกฎหมาย สังคม การเมือง และอื่นๆ
  • ความเป็นไปได้สะท้อนถึงสภาพต่างๆ ในบริษัท
  • แนวทางในการปฏิบัติต่อผู้มีผลประโยชน์ร่วมของกิจการทั้งหมดเป็นต้นว่า ลูกค้า พนักงาน คู่ค้า คู่แข่งขัน เจ้าหนี้