ประเทศพัฒนาแล้ว หมายถึงประเทศที่มีการพัฒนาในระดับสูงเมื่อวัดตามมาตรฐานบางประการ แต่การยึดเอามาตรฐานใดเป็นหลัก หรือการจัดกลุ่มให้ประเทศใดอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้วนั้นยังคงถกเถียงกันอยู่
โดยทั่วไปมาตรวัดทางเศรษฐกิจมักเป็นที่ยอมรับ เช่น การใช้รายได้ต่อหัวเป็นหลักและให้ประเทศที่มี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ต่อหัวสูงอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้ว ในระยะหลังมีการใช้ ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นการรวมเอามาตรวัดทางเศรษฐกิจรวมกับมาตรวัดอื่นๆ เช่น ดัชนีอายุขัย เพื่อเป็นตัววัดการพัฒนาประเทศต่างๆ มากขึ้น จึงมีการจัดกลุ่มประเทศที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงอยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ เป็นดัชนีการวัดและเปรียบเทียบความยามจน การรู้หนังสือ การศึกษา อายุขัย การคลอดบุตร และปัจจัยอื่นๆ ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เป็นวิธีการวัดความอยู่ดีกินดีมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กและเยาวชน หลายคนใช้ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของ สหประชาชาตินี้ในการระบุว่าประเทศใดประเทศหนึ่งจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่กำลังพัฒนา หรือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ดัชนีดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นมาในปี พ.ศ. 2533 โดยนักเศรษฐศาสตร์ชาวปากีสถานชื่อ มาฮุบับ อุล ฮาค และองค์การสหประชาชาติได้ในดัชนีดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา
ดัชนีการพัฒนามนุษย์วัดความสำเร็จโดยเฉลี่ยของแต่ละประเทศในการพัฒนามนุษย์สามด้านหลักๆ ได้แก่
– การมีชีวิตที่ยืนยาวและมีสุขภาพดี ซึ่งวัดได้จากอายุขัย
– ความรู้ซึ่งวัดได้จากการเรียนรู้หนังสือ (มีน้ำหนักเป็นสองในสามส่วน) และอัตราการเข้าเรียนสุทธิที่รวมกันทั้งระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา (มีน้ำหนักเป็นหนึ่งในสามส่วน)
– มาตรฐานคุณภาพชีวิต ซึ่งวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ( Gross Domestic Product – GDP ) ต่อหัวและความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ (Purchasing power parity-PPP)
การพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมมนุษย์เป็นสังคมที่ต้องการความเจริญก้าวหน้า ต้องการชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง การยอมรับ จากวงสังคมและประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ซึ่งไม่มีใครเลยจะสามารถปฏิเสธได้ว่า ในแต่ละวันนั้น มนุษย์ต้องดิ้นรนขวนขวาย ไขว่คว้าหาสิ่งที่ตนพึงปรารถนาเพื่อให้ได้มา ดังนั้น การพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงเป็นการพัฒนาตนเองให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปรับปรุงการดำเนินชีวิตให้สอดคล้อง และรองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ปัญหาที่สำคัญมีอยู่ว่า แล้วเราจะสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ความสำเร็วได้อย่างไร คำตอบที่ดีที่สุดคงหนีไม่พ้น เราต้องรู้จักตัวเราเองก่อน เพราะตัวเราเท่านั้นที่จะสามารถสร้างความสำเร็จให้กับตัวเองได้ ไม่มีใครสามารถทำแทนได้ ดังเช่นคำกล่าวที่ว่า “ ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว ”
ตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตนั้นมีอยู่มากมาย และสิ่งหนึ่งที่เราไม่สามารถละเลยที่จะนึกถึงคือ ปัจจัย 4 อันได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย ซึ่งนับเป็นปัจจัยพื้นฐานเบื้องต้นในการดำรงชีวิต ที่สำคัญ ซึ่งมนุษย์ทุกคนจะขาดเสียมิได้ นอกจากนั้นแล้ว การศึกษาก็นับว่าเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตอีกข้อที่สำคัญ เพราะทั่วโลกจะถือว่า “ประเทศมีอัตราการศึกษาของประชากรภายในประเทศอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสูงนั้น ย่อมถือว่า ประชากรในประเทศนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย” เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และอังกฤษ เป็นต้น
การพัฒนาตนเองเพื่อคุณภาพชีวิต สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 มิติดังต่อไปนี้
การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ได้แก่ การให้ความสำคัญกับสุขภาพ รู้จักบริโภคอาหารอย่างถูกสุขลักษณะและครบ 5 หมู่ หาเวลาพักผ่อนและออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์
การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านอารมณ์ เป็นการสร้างเสริมสุขภาพจิตที่ดี รู้จักควบคุมอารมณ์หมั่นฝึกฝนให้ทาน การทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ การเข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ การฝึกสมาธิ
การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสังคม เป็นการสร้างการยอมรับ และยกย่องจากสังคม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนๆ หรือจากหน่วยงานต่างๆ ที่จัดขึ้น การใช้เวลาว่างบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน และการปฏิบัติตนโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม
การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสติปัญญา เป็นการเพิ่มทักษะทางด้านความรู้ให้กับตนเอง เช่น การอ่านหนังสือ การเข้าอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในด้านต่างๆ การศึกษาข้อมูลด้วยตนเองจากสื่อสารสนเทศ วิทยุ โทรทัศน์ รวมไปถึงการหัดสังเกตและติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม
เทคนิคในการพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต มีอยู่ 6 ประการ คือ
วางแผนล่วงหน้า เพราะความสำเร็จที่ได้มาส่วนใหญ่มักจะมาจากแผนงานที่ชัดเจนมีวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กำหนดระยะเวลา รูปแบบของกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินงาน นอกจากนั้นแล้ว หลังจากสิ้นสุดในทุกๆ กิจกรรม ควรมีการวัดและประเมินผลตรวจสอบ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและแก้ไขสำหรับแผนใหม่ในคราวหน้าต่อไป
ขจัดความขี้เกียจ เพราะความขี้เกียจนี้แหละเป็นอุปสรรสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เมื่อปล่อยให้ความขี้เกียจเข้ามาเยือนแล้วก็ยากเหลือเกินที่จะสลัดออกไป เพราะฉะนั้น เราจึงควรสลัดความขี้เกียจนี้ตั้งแต่เริ่มต้น โดยไม่มีการผัดวันประกันพรุ่ง ปล่อยงานเป็นดินพอกหางหมู
ฝึกนิสัยประหยัด อดทน เพราะการใช้จ่ายที่ถูกวิธีและสมควรแก่ฐานะนั้น เป็นการสร้างระเบียบ วินัย ขั้นพื้นฐาน ให้แก่ตนเอง และยังใช้เป็นหลักประกันที่แน่นอนเมื่อถึงคราวคับขันเร่งด่วนอีกด้วย
หัดคิดในมุมสร้างสรรค์ เป็นการคิดเชิงบวก คิดแต่เรื่องที่ดีงาม มองปัญหาต่างๆ ให้เป็นเรื่องเล็กที่สามารถแก้ไขได้ การหัดเปิดมุมมองใหม่ๆ กับสิ่งต่างๆ ที่อยู่รายล้อมรอบๆ ตัวนั้นเป็นการพัฒนากระบวนการทางความคิด และสร้างทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้น หลีกเลี่ยงการมองตนเองเป็นศูนย์กลาง พร้อมกันนั้นควรหัดรับฟังให้มาก และสละเวลาบางส่วนแลกเปลี่ยนเสวนา แสดงความคิดเห็นกับผู้อื่นอยู่เสมอ
ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ปัญหาต่างๆ เปรียบเสมือนกับบททดสอบบทหนึ่งที่จะนำทางเราสู่ความสำเร็จ เมื่อเราคิดจะลงมือทำการสิ่งใด ควรตั้งรับและเตรียมใจไว้ว่า “ทางเดินสู่ความสำเร็จนั้นย่อมต้องมีอุปสรรคขวากหนามเป็นเพื่อนร่วมเดินทางด้วยเสมอ” ปัญหาทุกปัญหาจึงมาพร้อมๆ กับความสำเร็จ และเมื่อใดที่คุณพบกับความสำเร็จคุณจะรู้ว่า “ไม่ว่าจะอีกกี่สิบปัญหาในภายหน้า คุณก็จะสามารถผ่านพ้นมันไปได้ เหมือนอย่างคราวนี้เช่นกัน”
เคารพตนเอง โดยเชื่อมันในความสามารถให้โอกาสตนเองในการกล้าลองผิดลองถูกเพราะผู้ที่สามารถยืนหยัดอยู่บนความสำเร็จนั้นได้ ล้วนแล้วแต่ผ่านบททดสอบปัญหา และอุปสรรคต่างๆ มานับไม่ถ้วน
จุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาชีวิตนั้น คือ การเปิดใจยอมรับตนเอง ใครมีความพร้อมในการศึกษาเรียนรู้และมีสติตั้งรับกับการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอยู่เสมอจะช่วยให้ คุณสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมได้ อย่างมีความสุข
สรุปแล้วประเทศที่พัฒนา หมายถึง ประชาชนส่วนใหญ่ได้พัฒนาชีวิตตนเอง มาพัฒนาสังคม ประเทศ ทำให้ ประเทศที่พัฒนาแล้วมีคุณธรรม จริยธรรม ในตัวเองของประชาชนมากขึ้น รอบๆ บ้าน , หมู่บ้าน , เมือง ต่างมีความสงบเรียบร้อย มีความรับผิดชอบส่วนตัวสูง ประกอบประเทศที่พัฒนาแล้วเมื่อพัฒนาประชากรเรียบร้อยก็จะพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องใช้เครื่องมือต่างๆ ไปพร้อมๆกัน ทำให้เกิดอาชญากรรมน้อย หรือบางเมืองอาจจะไม่เกิดขึ้นเลยก็เป็นได้ โดยใช้ รปภ. เท่าที่จำเป็นควบคู่กับเทคโนโลยี ผสมผสานกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ เพราะถึงอย่างไรก็ดี รปภ. ก็ยังมีความจำเป็นอยู่ไม่มากก็น้อย จะขาดเสียไม่ได้ในการดำเนินธุรกิจ