จ้าง รปภ.ต่างด้าวใครผิด

ดังที่กล่าวมาแล้วจากบทความที่ผ่านมาว่าอาชีพ รปภ.นั้น ต้องใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นภาษาไทย

เพื่ออำนวยความสะดวกแก่พนักงานสอบสวน และหลักฐานในการดำเนินคดีในกรณีเกิดการโจรกรรม ทรัพย์สินสูญหายและ/หรือเสียหาย พร้อมเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีต่างๆ หากใช้ รปภ.ต่างด้าวแล้วจะทำให้ความยุ่งยากต่างๆ ติดตามมาอย่างมากมาย ประกอบกับการรักษาความปลอดภัยนั้นเป็นงานความมั่นคงประเภทหนึ่งไม่สามารถตรวจสอบรายละเอียดสำหรับประวัติของคนต่างด้าวได้อย่างรวดเร็ว ขนาดคนไทยต้องใช้เวลา 7 วันถึงจะเห็นผล เพราะฉะนั้น รปภ.ต่างด้าวจึงไม่เหมาะสมกับงานรักษาความปลอดภัย

จ้าง รปภ.ต่างด้าวใครผิด ผู้ที่ผิดคือบริษัทรักษาความปลอดภัยที่รับแรงงานต่างด้าวเข้าทำงาน เพราะบริษัทนั้นต้องมีจริยธรรมคือความสำนึกหรือความประพฤติที่ดีงามเพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม และต้องมี จรรยาบรรณ หมายถึงมาตรฐานของความประพฤติและใช้ดุลยพินิจทางศีลธรรมที่ว่าด้วยการกระทำของบุคคล บริษัท องค์กรว่าถูกหรือผิด สมควรหรือไม่สมควร การจ้างแรงงานต่างด้าว เหมือนบริษัท รปภ. เอาเปรียบผู้ว่าจ้าง เพราะผู้ว่าจ้างต้องรับภาระในการสื่อสาร พฤติกรรมต่างๆ ของ รปภ. ซึ่งยากแก่การปกครองและการสั่งการต่างๆ